ประเด็นการพัฒนาที่ 1 พัฒนานครปฐมให้เป็นเมืองอัจฉริยะ (Smart City) โดยเน้นด้านการขนส่ง(Transport) เมืองหลวงแห่งอาหารและการท่องเที่ยว (Food Metropolis) และเมืองแห่งสุขภาพ (Healthy City) รองรับสังคมผู้สูงอายุ (Aging) และบริบทโลก (Global Content) วัตถุประสงค์ 1. เพื่อให้จังหวัดนครปฐมเป็นเมืองหลวงแห่งอาหารและการท่องเที่ยว (Tourism & Food Metropolis) และส่งเสริมระบบเศรษฐกิจให้ประชาชนมีรายได้อย่างยั่งยืน 2. เพื่อให้จังหวัดนครปฐมเป็น Smart City เป้าหมายและตัวชี้วัด 1. มูลค่าการจำหน่ายผลผลิตการเกษตรปลอดภัยที่สำคัญ • ข้าว 2,607 ล้านบาท (ฐานปี 2559 = 2,145 ล้านบาท) +5% • กล้วยไม้ 639 ล้านบาท (ฐานปี 2559 = 590 ล้านบาท) +2% • ส้มโอ 27 ล้านบาท (ฐานปี 2559 = 22 ล้านบาท) +5% • พืชผัก 114 ล้านบาท (ฐานปี 2559 = 94 ล้านบาท) +5% 2. จำนวนแปลง/ฟาร์มที่ผ่านการรับรองมาตรฐาน GAP/อินทรีย์ • มาตรฐาน GAP ปีละ 575 แปลง • มาตรฐานอินทรีย์ ปีละ 10 แปลง • จำนวนฟาร์มที่ผ่านการรับรองมาตรฐานกรมปศุสัตว์ ปีละ 575 ฟาร์ม 3. ร้อยละที่เพิ่มขึ้นของจำนวนร้านค้าที่ผ่านการรับรองมาตรฐาน Clean Food Good Taste • จำนวน 2,223 ร้าน (ฐานปี 2558 = 2,053 ร้าน) +2% 4. รายได้จากการท่องเที่ยว • มูลค่า 7,370 ล้านบาท (ฐานปี 2559 = 5,034 ล้านบาท) +10% 5. ร้อยละที่เพิ่มขึ้นของรายได้จากการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ OTOP/SMEs/วิสาหกิจชุมชน • มูลค่า 10,262 ล้านบาท (ฐานปี 2559 = 9,502 ล้านบาท) +8% แนวทางการพัฒนา 1. พัฒนาสินค้าเกษตรครบวงจร ตั้งแต่เมล็ดพันธุ์ (Feed) – การทำฟาร์ม (Farm) – การแปรรูป (Food) – พร้อมรับประทาน (Table) – การกระจายสินค้า (Distribution) 2. ส่งเสริมกิจกรรมท่องเที่ยวและแหล่งท่องเที่ยวเชื่อมโยง สร้างเครือข่ายการท่องเที่ยวแบบครบวงจร เพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยว (Nakhon Pathom Love Destination) 3. ส่งเสริมสานสัมพันธ์เมืองพี่เมืองน้องเพื่อขยายฐานการค้ากับต่างประเทศ 4. ส่งเสริมระบบเศรษฐกิจสูงวัย (Silver Economy) 5. พัฒนาระบบต่อยอดงานวิจัยเพื่อเพิ่มศักยภาพในการพัฒนาจังหวัด ประเด็นการพัฒนาที่ 2 สร้างความแข็งแกร่งระดับพื้นที่ให้สามารถรองรับการขยายตัวทางเศรษฐกิจและกระจายความเจริญ การสร้างความสุขให้กับประชาชนในทุกระดับ วัตถุประสงค์ พัฒนาอำเภอ ตำบล ชุมชนให้รองรับการขยายตัวทางเศรษฐกิจ และสังคมของจังหวัดนครปฐม และกรุงเทพมหานคร เป้าหมายและตัวชี้วัด 1. จำนวนสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานที่ได้รับการพัฒนาปรับปรุงให้ดีขึ้นต่อปี ไม่น้อยกว่า 7 แห่ง/ปี 2. ร้อยละครัวเรือนที่เข้าถึง (ไม่น้อยกว่าค่าเฉลี่ยประเทศ) • ไฟฟ้า (ฐานปี 2558 นครปฐม ร้อยละ 79.86 ประเทศ 88.41) • น้ำประปา (ฐานปี 2558 นครปฐม ร้อยละ 11.96 ประเทศ 15.77) แนวทางการพัฒนา 1. พัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐาน 2. ส่งเสริมระบบเศรษฐกิจหลักของแต่ละอำเภอ/ชุมชนในทุกๆ ด้าน ประเด็นการพัฒนาที่ 3 เพิ่มรายได้ ลดรายจ่าย ลดปัญหาครัวเรือนและสิ่งแวดล้อม สร้างความเสมอภาค และความเท่าเทียม โดยนำศาสตร์พระราชามาเป็นแนวทางหลัก วัตถุประสงค์ 1. เพื่อส่งเสริมระบบเศรษฐกิจให้เกิดรายได้แก่ประชาชนโดยเน้นการสร้างขีดความสามารถในการแข่งขัน นวัตกรรม และรูปแบบธุรกิจที่ทันสมัย 2. เพื่อให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีและมีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน 3. เพื่อลดช่องว่าง และเพิ่มโอกาสการเข้าถึงสิทธิประโยชน์ของประชาชนที่พึงได้รับ 4. เพื่อแก้ไขปัญหาความยากจน เป้าหมายและตัวชี้วัด 1. ร้อยละที่ลดลงของคดีอาชญากรรมที่สำคัญ • อัตราลดลง (ร้อยละ 5/ปี) 2. ร้อยละที่ลดลงของคดียาเสพติด/ปี • อัตราลดลง (ร้อยละ 5/ปี) 3. อัตราส่วนหนี้เฉลี่ยต่อรายได้เฉลี่ยของครัวเรือน • ลดลง 4. ร้อยละของการดำเนินการแก้ไขปัญหาเรื่องร้องเรียนด้านทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม และมลพิษ (ร้อยละ 95) 5. ร้อยละของประชาชนเข้าถึงสวัสดิการ/บริการภาครัฐ 7 ด้าน (การศึกษา, สุขภาพอนามัย, ที่อยู่อาศัย, การทำงานการมีรายได้, กระบวนการยุติธรรม, นันทนาการ, และบริการทางสังคม) (ร้อยละ 65) แนวทางการพัฒนา 1. สนับสนุนและส่งเสริมความเข้าใจในการนำศาสตร์พระราชามาปฏิบัติให้เกิดความยั่งยืน และแก้ไขปัญหาความยากจน 2. ส่งเสริมการจัดระเบียบ ควบคุมการใช้ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม แบบมีส่วนร่วม เพื่อลดปัญหาสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ 3. ส่งเสริมระบบสวัสดิการและการบริการภาครัฐแบบเท่าเทียม ทั่วถึง และเสมอภาค |
|